Home

ข่าว

สำรวจหาค่าระดับความลึกท้องน้ำบริเวณพื้นที่แหล่งหญ้าทะเล เกาะลิบง จังหวัดตรัง

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 12 มีนาคม 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนธรณีวิทยาชายฝั่ง ร่วมกับศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงพื้นที่สำรวจหาค่าระดับความลึกท้องน้ำบริเวณพื้นที่แหล่งหญ้าทะเล เกาะลิบง จังหวัดตรัง โดยเรือสำรวจหยั่งน้ำอัตโนมัติ โดยมีเป้าหมายในการสำรวจ 12 แนว จากทั้งหมด 28 แนว มีระยะห่างระหว่างแนวประมาณ 300 เมตร ทั้งนี้ กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง จะส่งมอบข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในครั้งนี้ให้คณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาการเสื่อมโทรมของแหล่งหญ้าทะเลในบริเวณจังหวัดตรังและจังหวัดกระบี่ เพื่อไปใช้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุการเสื่อมโทรมของแนวหญ้าทะเลในพื้นที่ต่อไป

สำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหลังการติดตั้งรั้วดักทราย ชายหาดตำบลกลาย

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหลังการติดตั้งรั้วดักทราย (Sand fence) บริเวณชายหาดบ้านบางสาร ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 12 มีนาคม 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนวิศวกรรมชายฝั่ง ลงพื้นที่บริเวณชายหาดบ้านบางสาร ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหลังการติดตั้งรั้วดักทราย (Sand fence) ด้วยเครื่องมือหาพิกัดดาวเทียมRTK GNSS Network โดยรั้วดักทรายมีความยาว 570 เมตร ปักรูปแบบซิกแซก ใช้ไม้ความยาว 3 เมตร ปักลึกลงดิน 2 เมตร (ดำเนินการติดตั้งในปี พ.ศ. 2565) มีแนวสำรวจทั้งหมด 21 แนว ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งประมาณ 1,000 เมตร เป็นการสำรวจในช่วงหลังฤดูมรสุม ผลสำรวจพบว่าด้านทิศใต้ใกล้เขื่อนป้องกันคลื่นนอกชายฝั่ง รั้วดักทรายหลุดพังเสียหายจากคลื่นในช่วงฤดูมรสุมเป็นระยะทาง 180 เมตร และช่วงถัดมา แนวไม้อยู่ในสภาพล้มเอียงเข้าหาฝั่ง ระยะทาง 50 เมตร […]

ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี อ่างศิลา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 7 มีนาคม 2567 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ได้รับแจ้งจากศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน รายงานการเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี บริเวณอ่างศิลา อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี เจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบบริเวณดังกล่าว และสัมภาษณ์ชาวบ้านบริเวณอ่างศิลา ทราบว่าน้ำทะเลมีสีเขียวและมีกลิ่น เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 เจ้าหน้าที่ได้ทำการสำรวจและตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเล จำนวน 3 สถานี ได้แก่ สถานี AS1-AS3 ตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าสภาพน้ำเป็นสีเขียว มีกลิ่นเล็กน้อย และไม่พบสัตว์น้ำตาย ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำทั่วไป มีค่าความเป็นกรดและด่าง 8.33-8.50 อุณหภูมิ 32.4-33.1 องศาเซลเซียส และความเค็ม 31.9-32.2 ส่วนในพันส่วน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลประเภทที่ 3 เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยสาเหตุจากการสะพรั่งของไดโนแฟลกเจลเลตชนิด Noctiluca scintillans ซึ่งแพลงก์ตอนชนิดนี้ไม่สร้างสารชีวพิษ และมักพบว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีในหลายพื้นที่ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยฯ จะติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดต่อไป

สำรวจสัณฐานชายหาด แหลมพันวา

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทะเลชายฝั่ง ลงพื้นที่บริเวณแหลมพันวาตะวันออก ต.วิชิต อ.เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต เพื่อสำรวจสัณฐานชายหาด ด้วยเครื่องมือหาพิกัดดาวเทียมแบบ GNSS วันที่ 21 มกราคม 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนธรณีวิทยาชายฝั่ง ลงพื้นที่บริเวณแหลมพันวาตะวันออก ต.วิชิต อ.เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต เพื่อสำรวจสัณฐานชายหาด ด้วยเครื่องมือหาพิกัดดาวเทียมแบบ GNSS โดยการรังวัดผ่านระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network) โดยมีระยะทางตามแนวชายฝั่งประมาณ 950 เมตร กำหนดแนวสำรวจสัณฐานชายหาด รวม 13 แนว ผลการสำรวจเบื้องต้น พบว่า พื้นที่สำรวจมีความลาดชันชายหาดประมาณ 0.06 – 8.52 องศา มีความกว้างของหาด ประมาณ 10 – 13 เมตร เมื่อนำผลการสำรวจครั้งนี้เปรียบเทียบกับผลการสำรวจในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พบว่า บริเวณพื้นที่แหลมพันวาตะวันออกมีตะกอนสะสมเพิ่มขึ้นประมาณ 197.48 ลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จะนำไปวิเคราะห์อัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล ความลาดชันชายหาด ความกว้างของหาด […]

ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี ท่าศาลา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทะเลชายฝั่ง ติดตามปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีพื้นที่หาดท่าสูงบน อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช วันที่ 16 มกราคม 2567 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง กลุ่มงานสมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ได้รับการแจ้งเหตุการณ์เกิดน้ำทะเลเปลี่ยนสี บริเวณพื้นที่หาดท่าสูงบน ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช สำรวจพื้นที่เบื้องต้นไม่พบผลกระทบต่อสัตว์น้ำ ลักษณะสีน้ำทะเลเป็นสีเขียวเข้ม สาเหตุเกิดจากการสะพรั่งของแพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต ชนิด Noctiluca scintillans มีความหนาแน่นเฉลี่ย 19,203 เซลล์ต่อลิตร ซึ่งแพลงก์ตอนชนิดนี้ไม่สร้างสารชีวพิษ ตรวจวัดปัจจัยคุณภาพน้ำทะเลเบื้องต้น ดังนี้ ความเป็นกรด-ด่าง 7.63-7.88 ความเค็ม 31.6-31.8 ppt อุณหภูมิน้ำทะเล 30.4-30.9 °C และปริมาณออกซิเจนละลาย 7.14-7.22 mg/l ตัวอย่างน้ำทะเลสำหรับวิเคราะห์ปริมาณสารอาหาร เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 °C นำกลับมาวิเคราะห์ห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยฯ จะติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องต่อไป

สำรวจและติดตามสถานภาพชายฝั่ง พื้นที่ ต.ท้องเนียน

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทะเลชายฝั่ง สำรวจและเก็บข้อมูลและติดตามสถานภาพชายฝั่ง บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล ต.ท้องเนียน และต.ขนอม อำเภอขนอม จ.นครศรีธรรมราช วันที่ 9 มกราคม 2567 สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 โดย ส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ลงพื้นที่เพื่อสำรวจและเก็บข้อมูลและติดตามสถานภาพชายฝั่ง บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล ต.ท้องเนียน และต.ขนอม อำเภอขนอม จ.นครศรีธรรมราช ชายฝั่งทะเลมีระยะทางยาวประมาณ 48.03 กม. จากการสำรวจพบว่าพื้นที่ชายฝั่งทะเล ต.ท้องเนียน และ ต.ขนอม อ.ขนอม มีลักษณะเป็นหาดทรายและธรณีสัณฐานชายฝั่งแบบหาดก้นอ่าว (Pocket beach) โดยทั้งสองด้านของอ่าวเป็นหาดหิน/หัวหาด (Head Land) โดยด้านทิศเหนือและทิศใต้มีลักษณะเป็นหัวหาด/หาดหิน ชายฝั่งส่วนใหญ่มีสถานภาพสมดุล และมีการสะสมของตะกอนทราย จากการสำรวจไม่พบการกัดเซาะชายฝั่ง อีกทั้งพื้นที่ชายหาดของ อ.ขนอมยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญเชิงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งนี้ จะดำเนินการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ดังกล่าว เพื่อนำไปประกอบการจัดทำรายงานสถานภาพชายฝั่งทะเลประจำปี 2567 จังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อไป

ตรวจสอบก้อนน้ำมันชายหาด ต.จะทิ้งพระ จ.สงขลา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทะเลชายฝั่ง ตรวจสอบพื้นที่กรณีแจ้งมีก้อนน้ำมันขึ้นบริเวณชายหาด ต.จะทิ้งพระ อ.สทิงพระ จ.สงขลา วันที่ 28 ธันวาคม 2566 เจ้าหน้าที่กลุ่มงานสมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง สำรวจพื้นที่ชายหาดบ้านจะทิ้งพระ หมู่ 6 และหมู่ 7 ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา สำรวจพื้นที่พบก้อนน้ำมัน (Tar ball) เป็นแนวยาวขึ้นตามแนวรอยคลื่นตรงแนวน้ำขึ้นสูงสุด ตลอดแนวชายหาดระยะ 2 กิโลเมตร ตรวจวัดปัจจัยคุณภาพน้ำทะเลเบื้องต้นไม่พบวัตถุที่ลอยน้ำ ไม่พบน้ำมันและไขมันลอยน้ำ บริเวณผิวหน้าน้ำ ค่าความเค็มอยู่ในช่วง 27.8-28 ppt ความเป็นกรด-ด่าง 7.0-7.5 อุณหภูมิน้ำทะเล 27.8-28 องศาเซลเซียส ปริมาณออกซิเจนละลาย 6.9- 7.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ดำเนินการเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อวิเคราะห์ปริมาณปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนรวมในน้ำทะเล ส่งวิเคราะห์ห้องปฏิบัติการต่อไป

ผู้ออกแบบกำแพงกันคลื่นฟ้องหมิ่นชาวสงขลา คาดปมแชร์โพสต์-วิจารณ์ผลกระทบกำแพงกันคลื่นต่อชายหาด

ที่มา: https://prachatai.com/journal/2023/12/107389 เพจเฟซบุ๊ก ‘Beach for life’ แจ้งมีประชาชนจากสงขลา ถูกนักวิชาการย่านศรีราชา ผู้ออกแบบกำแพงกันคลื่น ฟ้องหมิ่นประมาทอาญา และ พ.ร.บ.คอมฯ คาดปมแชร์โพสต์วิจารณ์ผลกระทบกำแพงกันคลื่น ด้านผู้ถูกฟ้องเผยพร้อมสู้คดีถึงที่สุด 26 ธ.ค. 2566 เพจเฟซบุ๊ก “Beach for life” โพสต์ข้อความวันนี้ (26 ธ.ค.) แจ้งว่า วานนี้ (25 ธ.ค.) มีประชาชน อ.เทพา จ.สงขลา ถูกกล่าวหา ดำเนินคดีอาญา ข้อหา หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 16 ที่ สภ.แหลมฉบัง จ.ชลบุรี เบื้องต้น ทางเพจฯ คาดว่าสาเหตุมาจากการแชร์โพสต์โซเชียล และวิจารณ์ผลกระทบจากโครงการกำแพงกันคลื่นต่อชายหาด ทั้งนี้ ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษเป็นนักวิชาการดังย่านศรีราชา ซึ่งเป็นผู้ออกแบบกำแพงกันคลื่นริมชายหาดหลายโครงการ สำหรับ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 16 ระบุว่า ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ […]

สำรวจรอยกินหญ้าทะเลของพะยูนและสัตว์ทะเลหายากในพื้นที่

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทะเลชายฝั่ง สำรวจรอยกินหญ้าทะเลของพะยูนและสัตว์ทะเลหายากในพื้นที่ ในช่วงน้ำขึ้นสูงสุดและน้ำลงต่ำสุด บริเวณอ่าวป่าคลอก จังหวัดภูเก็ต วันที่ 18-21 ธันวาคม 2566 เจ้าหน้าที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ได้ออกสำรวจรอยกินหญ้าทะเลของพะยูนและสัตว์ทะเลหายากในพื้นที่ ในช่วงน้ำขึ้นสูงสุดและน้ำลงต่ำสุด บริเวณอ่าวป่าคลอก จังหวัดภูเก็ต คิดเป็นพื้นที่ 2.34 ตร.กม จากการสำรวจพบรอยกินหญ้าทะเลของพะยูน โดยมีหญ้าใบมะกรูด (Halophila) เป็นหญ้าชนิดเด่น บริเวณรอยกิน ที่พบมีทั้งรอยเก่าและรอยใหม่ สังเกตจากการขึ้นปกคลุมทดแทนของหญ้าทะเล ได้ดำเนินการสุ่มวัดขนาดความกว้างและความยาวของรอยกิน จำนวน 20 รอย พบว่า รอยกินมีความกว้าง 13 – 15 เซนติเมตร ขนาดความยาวของรอยกินเฉลี่ย 8 เมตร จึงได้ทำการบันทึกเพื่อนำไปประเมินขนาดและประชากรของพะยูนต่อไป และจากการสำรวจพบเต่าทะเล ชนิดเต่าตนุจำนวน 10 ตัว อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว

คลื่นใหญ่ซัดประจวบฯ

ที่มาข่าว: หนังสือพิมพ์ประจวบโพสต์ คลื่นใหญ่ซัดประจวบฯ ต่อเนื่อง วันที่2 ส่วนหัวหิน กำแพงโรงแรมพังน้ำเต็มฝั่ง​ (วันที่ 18 พ.ย.2566) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสถานการณ์คลื่นลมในทะเลยังคงรุนแรงต่อเนื่องตลอดแนวชายฝั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงเช้าคลื่นจะมีความรุนแรง ซัดเข้าหากชายหาดตลอดเวลา โดยเฉพาะที่ชายหาดหัวหิน-หาดเขาตะเกียบ และหาดเขาเต่า ไม่มีชายหาดเหลือให้เห็นเนื่องจากคลื่นซัดน้ำทะเลเข้ามาจนถึงแนวกำแพงกันคลื่นของโรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหารตลอดแนว จากเดิมจะมีชายหาดกว้างให้นักท่องเที่ยวได้ลงมาเดิน และชี่ม้าเล่นกัน แต่ตั้งแต่วานนี้ไม่สามารถทำกิจกรรมทางทะเลได้ โดยเฉพาะร้านอาหารชายหาดหัวหิน 22 ต้องเก็บข้าวของและเตียงผ้าใบขึ้นมาจนติดแนวกำแพง ทำให้ไม่สามารถจำหน่ายอาหารให้กับนักท่องเที่ยวได้ ส่วนบรรดาผู้ประการให้ม้าเช่าที่ชายหาดหัวหิน ก็บ่นว่ารายได้ 2 วันนี้ลดลงไปทันที เนื่องจากไม่มีนักท่องเที่ยวมานั่งม้าขี่ไปตามแนวชายหาด ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นลักษณะเช่นนี้ไปอีก 2-3 วัน มีเพียงนักท่องเที่ยวต่างชาติ และชาวจีนที่ลงมาที่หาดดูคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งกัน อย่างไรก็ตามจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งอย่างรุนแรงต่อเนื่องส่งผลให้แนวกำแพงกันคลื่นของโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ หัวหิน พังเสียหายเป็นแนวยาวบางช่วง ส่วนที่เหลือคลื่นได้กัดเซาะเข้าไปใต้ฐานจนมีเศษก้อนหินขนาดใหญ่ เล็กโผล่ขึ้นมาให้เห็น ในขณะเดียวกันพนักงานโรงแรมต้องนำเชือกขาว แดงมากั้นเป็นแนวยาวกันให้นักท่องเที่ยวที่มาพักผ่อนในโรงแรม เดินไปบริเวณดังกล่าวเพื่อความปลอดภัย นอกจากนั้นต้นมะพร้าว เสาไฟบริเวณชายหาดได้รับความเสียหาย ต้นมะพร้าวโค่นล้ม ตลอดจนมีเศษไม้ เศษขยะ ต่างๆถูกคลื่นซัดขึ้นมาบริเวณชายหาดตลอดแนวหัวหิน-หาดเขาตะเกียบ ส่วนเรือประมงพื้นที่บ้านกว่า 100 ลำได้นำเรือเข้ามาจอดหลบคลื่นลมในบริเวณคลองเขาตะเกียบ และบริเวณสะพานปลาหัวหิน นายจำนงค์ บุตรสงค์ […]

see more…

สถานการณ์ชายฝั่งทะเล

ชายหาดหลังรื้อ “โกงกางเทียม”

Beach Lover ได้เคยพาชมโครงการวางโกงกางเทียมเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแถบเขาหลักใกล้หาดทางทองไปหลายครั้งแล้ว ติดตาม Clip พาเดินชมได้จาก Youtube (1) โกงกางเทียมซีออส (C-Aoss) หาดนางทอง เขาหลัก พังงา และ (2) โกงกางเทียมซีออส (C-Aoss) ณ หาดนางทอง จ พังงา และ (3) รากโกงกางเทียม เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ณ หาดนางทอง และงานเขียนในโพสเก่าๆ หาอ่านเพิ่มเติมได้จาก Search icon ฤดู High season ของทะเลแถบอันดามันในปี 2567 นี้ Beach Lover ได้มีโอกาสกลับไปสำรวจชายหาดแถบนี้อีกครั้ง พบว่าโกงกางเทียมที่เคยวางอยู่หน้าชายหาดแห่งนี้มายาวนานมากกว่า 1 ปี หายไปหมดแล้ว จากการสอบถามผู้ดูแลรีสอร์ทแห่งนี้ได้ความว่า เจ้าของรีสอร์ทขอให้ผู้ที่นำมาทดลองวางรื้อออกให้หมดเนื่องจากไม่ได้ผล ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งไม่ได้ เสียหายและหลุดออกจากตำแหน่งเดิมที่เคยติดตั้ง ทั้งยังส่งผลเสียเป็นทัศนะที่ไม่น่ามอง จากนั้น รีสอร์ทก็นำทรายมาเติมโดยใช้เวลา 3 คืน ดำเนินการช่วง 20:00-22:00 […]

วัดถ้ำโพงพางหลังมรสุม

Beach Lover ขอพาชมภาพของชายหาดหน้าวัดถ้ำโพงพาง อ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร ช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าถนนเลียบทะเลเสียหายไปบางส่วน และมีเสาไม้ปักอยู่บนชายหาด เมื่อสืบค้นข้อมูลพบว่า ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) จังหวัดชุมพร ร่วมกับประชาชนในพื้นที่ สร้างขึ้นเพื่อเป็นแนวกันคลื่นป้องกันการกัดเซาะเเนวชายฝั่งในรูปแบบเชิงอนุรักษ์ เพื่อไม่ให้สิ่งก่อสร้างถูกกัดเซาะ เมื่อ มิ.ย.2565 (https://siamrath.co.th/n/354051) และได้มีการปักเพิ่มเติมเรื่อยๆตามกำลังและความร่วมมือร่วมใจของทั้งหน่วยงานและประชาชน (https://www.4forcenews.com/239008/) อย่างไรก็ตาม ยังคงพบปัญหาการกัดเซาะถึงบางส่วนของถนนเลียบชายหาดของทางวัด ทั้งบริเวณที่มีการปักไม้และบริเวณที่ไม่มีการปักไม้

แปลงปลูกต้นไม้ชายหาด อุทยานปราณบุรี

“ป่าชายหาด” คือ พื้นที่รอยต่อระหว่างทะเลกันป่าดิบแล้งตามชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลท่วมไม่ถึง ชายหาดเป็นกรวดทรายและโขดหินเป็นแนวกว้าง เช่น ตามเกาะต่างๆในทะเลของไทย ทั้งบริเวณในเขตอ่าวไทยและอันดามัน ดินค่อนข้างเค็มเนื่องจากมีไอเค็มจากฝั่งทะเลพัดเขาถึง สภาพป่าจะผิดแผกไปจากป่าพรุ ป่าบึงน้ำจืด และป่าชายเลน หรือป่าเลนน้ำเค็มโดยสิ้นเชิง ความชุ่มชื้นและปุ๋ยอินทรีย์ในดินมีน้อยมาก สังคมพืชโดยถือเอาความสูงเป็นเกณ์แบ่งได้ 3 ชั้น พันธุ์ไม้หลัก มีสนทะเล กระทิงหรือสารภีทะเล และหูกวางเป็นหลัก “ป่าชายหาด” นับเป็นป่าสังคมหนึ่งของป่าดิบ มีปริมาณฝนระหว่าง 1,500-4,000 มม/ปี และพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 50 เมตร ปริมาณพื้นที่ของป่าชนิดนี้ยังไม่อาจประเมินได้ แต่มีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับพื้นที่ป่าประเภทอื่นในประเทศไทย (อ่านเพิ่มเติมได้จาก วารสารราชบัณฑิต) แนวคิดการปลูกป่าชายหาดเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งทะเล เนินทรายชายฝั่ง เพื่อเป็นปราการทางธรรมชาติป้องกันคลื่นลมนั้นเริ่มปรากฏให้เห็นในระยะหลังๆที่สังคมเริ่มมีความรู้ความเข้าใจเรื่อง Eco-friendly มากขึ้น มีการเริ่มตระหนักว่า ความสมบูรณ์ของป่าชายหาดอาจทดแทนโครงสร้างป้องกันชายฝั่งอย่างกำแพงกันคลื่นได้ ตัวอย่างเช่นโครงการ การพัฒนาแนวทางการปลูกป่าชายหาดด้วยหลักการป่านิเวศ (Eco-forest) เพื่อป้องกันผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง ณ ชายหาดชลาทัศน์ จ.สงขลา ปลูกป่าชายหาดเสริมความมั่นคง ป่าปลายแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช Beach Lover ขอพาชมแปลงปลูกป่าชายหาด ณ วนอุทยานปราณบุรี หรือ […]

กำแพงกันคลื่น หาดn้องศาลา เกาะพะงัน

หาดท้องศาลาบนเกาะพะงัน เป็นชายหาดที่อยู่ใกล้กับท่าเรือข้ามฟากที่มาจากดอนสัก และเกาะสมุยจังหวัดสุราษฎร์ธานี นับเป็นประตูแรกสู่เกาะพะงันก็ว่าได้ บริเวณนี้คลื่นลมค่อนข้างรุนแรงในบางฤดูกาลเหมาะแก่การเล่นกีฬาทางน้ำหลายประเภท เช่น Kitesurf, Windsurf และ เรือใบ บริเวณหาดท้องศาลามีที่พักจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่เป็นที่พักค่อนข้างเก่า เนื่องจากก่อสร้างมาเป็นระยะเวลานานแล้ว ส่วนมากที่พักมีหน้าหาดค่อนข้างกว้าง มีบางรีสอร์ทเท่านั้นที่ดูเหมือนว่าจะสร้างประชิดทะเลมากๆจนทำให้ต้องป้องกันพื้นที่ของตนเองด้วยกำแพงกันคลื่น Beach Lover พาชมกำแพงกันคลื่นบริเวณรีสอร์ทแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ประชิดชายหาดท้องศาลา ดูจากสภาพกำแพงกันคลื่นแนวดิ่งแล้วเข้าใจว่าสร้างโดยเจ้าของที่ดินบริเวณนี้เพื่อป้องกันที่ดินหน้าหาดของตนเอง แต่ด้วยลักษณะของกำแพงกันคลื่นแบบแนวดิ่ง ส่งผลให้คลื่นที่วิ่งปะทะกับกำแพงสะท้อนกลับแล้วนำทรายด้านหน้ากำแพงหดหายไปจนหมด พบว่าแม้ยามน้ำขึ้นไม่เต็มที่พื้นที่บริเวณนี้ก็แทบจะไม่มีด้านหน้าชายหาดเหลืออยู่แล้ว เมื่อเทียบกับพื้นที่ข้างๆรีสอร์ทที่ยังไม่ได้สร้างกำแพงกันคลื่น ซึ่งพบว่ายังคงมีชายหาดหลงเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง นอกจากนั้นจากการเดินสำรวจยังพบอีกว่าพื้นที่ด้านบนหรือด้านหลังของกำแพงกันคลื่นมีร่องรอยความเสียหายจากคลื่นที่กระเซ็นและกระโดดข้ามทำให้ดินทรายด้านหลังกำแพงกันคลื่นหลุดล่อนจนส่งผลให้เป็นหลุมบ่อจำนวนมาก โดยยังพบอีกว่ามีการนำถุงทรายมาวางและมีตะแกรงเหล็กวางครอบด้านหน้าเพื่อป้องกันบ้านพักในรีสอร์ทจำนวนหนึ่งหลังที่อยู่โซนหน้าทะเล นับเป็นความเข้าใจผิดของเจ้าของที่ดินอย่างมาก เพราะการสร้างกำแพงกันคลื่นไม่เคยก่อให้เกิดผลดีกับชายหาดไหนเลย ซ้ำร้ายจะทำให้ชายหาดหน้ารีสอร์ทของตนนั้นหายไปจนหมดสิ้น โดยไม่มีทางที่จะกลับมาได้อีก ทำให้มูลค่าชายหาดด้านหน้ากำแพงนั้นลดลง ความสวยงามของชายหาดด้านหน้ารีสอร์ทก็ลดลง ต่อไปถ้าลูกค้าพูดกันปากต่อปากว่ารีสอร์ทนี้ไม่มีชายหาดแล้ว ก็จะส่งผลให้ลูกค้าไม่เข้ามาใช้บริการรีสอร์ทแห่งนี้อีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหาดท้องศาลาเป็นบริเวณที่มีรีสอร์ทเรียงรายอยู่มากมาย ลูกค้าสามารถเลือกรีสอร์ทอื่นที่อยู่ใกล้เคียง ที่มีชายหาดที่สวยงามกว่า เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจได้อย่างสะดวกและปลอดภัยกว่า (ภาพเมื่อ ธันวาคม 2566)

“ส่อง” งบประมาณปี 2567 ที่เกี่ยวข้องกับทะเลและชายฝั่ง ของกรมเจ้าท่า

ที่มาข้อมูลจากเล่มร่างงบประมาณ (ขาวคาดแดง) โดยสำนักงบประมาณปี 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดย Beach Lover Beach Lover ได้เคยนำเสนองบประมาณเพื่องานแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ปี 2563 แล้ว ติดตามได้จากโพสเก่าๆตาม Link ด้านล่าง งบประมาณปี 2563 https://beachlover.net/budget-2563-beach-erosion/ งบประมาณปี 2564 https://beachlover.net/ร่างงบประมาณ-ชายฝั่ง-2564/ งบประมาณปี 2565 https://beachlover.net/สดๆร้อนๆ-เปิดร่างงบประมาณป้องกันชายฝั่งประจำปี-2565/ งบประมาณปี 2566 https://beachlover.net/เปิดร่างงบประมาณ-เพื่อแ/ งบประมาณปี 2567 https://beachlover.net/budget-2567/ ครั้งนี้ของเจาะเพิ่มเติมเฉพาะของกรมเจ้าท่า โดยได้รวมเอางบประมาณเพื่อการขุดลอกปากร่องน้ำชายฝั่งทะเล และการถ่ายเททรายข้ามร่องน้ำ (Sand bypassing) เข้าไว้ด้วยกัน พบว่าในปีงบประมาณ 2567 กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ได้ตั้งงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับทะเลและชายฝั่ง ไว้เป็น 5 งานหลัก ใน 37 โครงการ รวมงบประมาณที่ขอเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2567 (รวมงบผูกพัน) ทั้งสิ้น 1,684.83 ล้านบาท ดังนี้ (1) งานศึกษาออกแบบ จำนวน 3 โครงการ […]

ด่วน! เปิดร่างงบประมาณ เพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลปี 2567

ที่มาข้อมูลจากเล่มร่างงบประมาณ (ขาวคาดแดง) โดยสำนักงบประมาณปี 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดย Beach Lover Beach Lover ได้เคยนำเสนองบประมาณเพื่องานแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ปี 2563 แล้ว ติดตามได้จากโพสเก่าๆตาม Link ด้านล่าง งบประมาณปี 2563 https://beachlover.net/budget-2563-beach-erosion/ งบประมาณปี 2564 https://beachlover.net/ร่างงบประมาณ-ชายฝั่ง-2564/ งบประมาณปี 2565 https://beachlover.net/สดๆร้อนๆ-เปิดร่างงบประมาณป้องกันชายฝั่งประจำปี-2565/ งบประมาณปี 2566 https://beachlover.net/เปิดร่างงบประมาณ-เพื่อแ/ เมื่อเดือน ธ.ค.2566 ร่างงบประมาณประจำปี 2567 ได้ถูกเผยแพร่ผ่านสำนักงบประมาณ (ร่างงบประมาณเล่มขาดคาดแดง) พบว่ารัฐวางแผนใช้จ่ายงบประมาณในปีงบประมาณ 2567 (ต.ค.2566-ก.ย.2567) เพื่องานศึกษาออกแบบ ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม งานก่อสร้างและปรับปรุงโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง และเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่ง ใน 3 กรมหลัก คือ กรมเจ้าท่า กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมถึงงบกลุ่มจังหวัดด้วย รวมทั้งสิ้น 795,900,000 บาท (795.9 ล้านบาท) ใน 51 โครงการ  ทั้งนี้ มิได้รวมงบประมาณของกรมเจ้าท่าเพื่อการขุดลอกปากร่องน้ำชายฝั่งทะเล และการถ่ายเททรายข้ามปากร่องน้ำ […]

กำแพงกันคลื่น ท่าบอน ยังสบายดี?

ช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปลายเดือนธันวาคม 2566 Beach Lover ได้ลงพื้นที่สำรวจชายหาดท่าบอน อ.ระโนด จ.สงขลา ที่เคยมีการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบแนวดิ่ง ไปเมื่อหลายปีก่อน โดยในช่วงสองปีมานี้ ชาวบ้านบริเวณนั้นได้รับผลกระทบจากโครงการกำแพงกันคลื่นนี้อย่างหนัก ทั้งๆที่การเกิดขึ้นของกำแพงกันคลื่นควรจะส่งผลดีต่อพื้นที่ด้านหลังกำแพง แต่กลับส่งผลกระทบอย่างรุนแรงจนชาวบ้านต้องส่งเสียงเรียกร้องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบกลับเหลียวหลังดูซากปรักหักพังที่เกิดจากผลกระทบของกำแพงกันคลื่นที่สร้างต่อเนื่องเป็นแนวยาวในชุมชน เมื่อคลื่นวิ่งเข้าปะทะกำแพงแนวดิ่ง จะสะท้อนออกไปนอกชายฝั่งโดยจะกวาดเอาทรายบนชายหาดด้านหน้ากำแพงหดหายไปด้วย ในขณะที่คลื่นอีกส่วนหนึ่งจะยกตัวสูงขึ้นแล้วกระโจนข้ามสันกำแพง ปะทะกับพื้นที่ด้านหลัง เกิดน้ำท่วมพื้นที่ด้านใน แรงที่คลื่นตกกระทบบนพื้นทรายหลังจากข้ามสันกำแพงกันคลื่นมาแล้วยังส่งผลให้เนินทรายด้านหลังเกิดความเสียหาย ทรายไหลตามน้ำ เกิดการกัดเซาะพื้นที่ด้านหลังกำแพงอย่างรุนแรง จนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ด้านหลังกำแพงกันคลื่นและควรจะรู้สึกอุ่นใจจากโครงสร้างนี้ ต้องนำกระสอบทราย ไม้ และวัสดุก่อสร้างอื่นๆมาวางเพื่อป้องกันบ้านตนเอง นอกจากนี้แล้วแรงปะทะและการกระเซ็นข้ามของคลื่นส่งผลให้เกิดไอเค็มกระจายไปไกล ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่อีกด้วย กรมเจ้าท่าในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบได้สร้างกำแพงหินเรียงอีกชั้นหนึ่งมาครอบทับกำแพงแนวดิ่งนี้ไปแล้วบางส่วน แต่ยังไม่ตลอดทั้งแนวชายฝั่งที่เกิดผลกระทบ น่าติดตามต่อไปว่า ผลกระทบนี้ยังดำรงอยู่ไปนานแค่ไหน และกรมเจ้าท่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ชมคลิป VDO เพิ่มเติมได้จาก https://youtu.be/p_dw3mu94vU?si=mpCH6OFguiQyOuqk

กำแพงหาดมหาราช ยังอยู่ในงบปี 67 แม้ศาลสั่งคุ้มครอง

ในโอกาสที่งบประมาณแผ่นดินปี 2567 กำลังจะเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 1 ช่วงวันที่ 3-5 มกราคม 2567 นี้ Beach Lover ชวนท่านผู้สนใจตามอ่านเอกสารร่างงบประมาณ (ขาวคาดแดง) กันได้ตาม Link นี้ งบประมาณรายจ่าย 2567 สำนักงบประมาณ Beach Lover พบว่างบประมาณปี 2567 จำนวน 76.862 ล้านบาท เพื่อสร้างกำแพงกันคลื่นระยะที่ 3 หาดมหาราช จ.สงขลา ระยะทาง 555 เมตร ปรากฏอยู่ในเล่มงบประมาณ ขาวคาดแดง ของกรมโยธาธิการและผังเมือง มาตั้งแต่ปี 2563 ถึงปัจจุบัน แม้ยังไม่มีการลงมือก่อสร้างใดๆ แต่ชาวบ้านในพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบก็วิตกกังวลไม่น้อย แม้ว่าวันนี้ศาลปกครองสงขลาจะออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโครงการกำแพงกันคลื่นระยะที่ 3 หาดมหาราช จ.สงขลา ในวันที่ 12 ธันวาคม 2566 ไปแล้วก็ตาม (อ่านเพิ่มเติมจาก https://beachlover.net/maharaj-case-dec2023/) แต่งบประมาณส่วนนี้ยังคงปรากฏอยู่ในเล่มงบประมาณขาวคาดแดงปี 2567 เนื่องจากมีการจัดทำแล้วพิมพ์เผยแพร่ก่อนคำสั่งศาล […]

เปิด 5 เรื่องราวที่มีผู้อ่านมากที่สุดในปี 2566

Beach Lover ได้นำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับชายหาดทั้งในไทยและต่างประเทศ ทั้งข่าว สถานการณ์ และข้อมูลทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องมาตั้งแต่ปี 2562 รวมถึงคลิป VDO ที่น่าสนใจผ่านทาง Youtube: Coastal Research Group (https://www.youtube.com/channel/UC1TN-_GH8ZOu2qjTlh_9CSQ) มาตั้งแต่ปี 2561 ในวันแรกของการเริ่มต้นปี 2567 Beach Lover ขอประมวล 5 เรื่องราวที่มีผู้อ่านมากที่สุดในรอบปี 2566 ตามนี้ อันดับที่ 1 ปากแม่น้ำ (https://beachlover.net/ปากแม่น้ำ-estuary/) อันดับที่ 2 การแบ่งเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่ (https://beachlover.net/การแบ่งเขตการใช้ประโยช/) อันดับที่ 3 กำแพงกันคลื่น…ไปต่อหรือพอแค่นี้ (https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่น-ไปต่อหรื/) อันดับที่ 4 นิยามของแนวชายฝั่งทะเล (https://beachlover.net/นิยามของแนวชายฝั่งทะเล/) อันดับที่ 5 เทียบชัดๆ…หาดขั้นบันไดกับหาดทราย (https://beachlover.net/เทียบชัดๆ-หาดขั้นบันได/) น่าสนใจว่า อันดับที่ 1-4 นั้นอยู่ในหมวด “วิชาการ” ทั้งหมด ส่วนลำดับที่ 5 […]

หาดริ้นเกาะพะงัน ในยามสงบ

Beach Lover เคยพาชมสภาพหาดริ้นในเช้าหลัง Full moon party ไปแล้ว เมื่อปีก่อนติดตามได้จาก https://beachlover.net/หาดริ้น-หลัง-full-moon-party/ กลับมาเกาะพะงันอีกรอบในครั้งนี้ Beach Lover ขอพาชมความสวยงามของหาดริ้นอีกครั้งในยามที่ชายหาดยังไร้ผู้คน ไร้นักดื่ม ไร้นักเที่ยว หาดริ้นนับเป็นชายหาดแห่งเดียวของเกาะพะงันที่ตั้งอยู่บนจะงอยทางทิศใต้ของเกาะ การเข้าถึงหาดแม้ถนนจะมีสภาพค่อนข้างดีแต่มีความลาดชันและความคดเคี้ยวสูง ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ หากใครเพิ่งหัดขับรถมอเตอร์ไซค์ใหม่ๆหรือยังไม่มีประสบการณ์การขับขี่มากพอควรหลีกเลี่ยงเส้นทางนี้ แม้ในยามปกติที่ไม่มีปาร์ตี้ พบว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบได้นำคนงานและรถมาทำความสะอาดชายหาดอยู่เป็นประจำ หากมองหาดริ้นจากทางทิศใต้ของชายหาดในยามที่เงียบสงบอย่างวันนี้ แทบนึกภาพไม่ออกเลยว่าในวันงาน Full moon party ที่จัดขึ้นในทุกๆวันขึ้น 15 ค่ำของแต่ละเดือน ค่ำคืนพระจันทร์เต็มดวงที่ผู้คนล้นชายหาด และบางส่วนล้นลงไปในทะเล ชายหาดนี้จะมีสภาพอย่างไร (ภาพเมื่อ: ธันวาคม 2566)

see more…

สถานการณ์ชายฝั่งทะเล

ชายหาดหลังรื้อ “โกงกางเทียม”

Beach Lover ได้เคยพาชมโครงการวางโกงกางเทียมเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแถบเขาหลักใกล้หาดทางทองไปหลายครั้งแล้ว ติดตาม Clip พาเดินชมได้จาก Youtube (1) โกงกางเทียมซีออส (C-Aoss) หาดนางทอง เขาหลัก พังงา และ (2) โกงกางเทียมซีออส (C-Aoss) ณ หาดนางทอง จ พังงา และ (3) รากโกงกางเทียม เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ณ หาดนางทอง และงานเขียนในโพสเก่าๆ หาอ่านเพิ่มเติมได้จาก Search icon ฤดู High season ของทะเลแถบอันดามันในปี 2567 นี้ Beach Lover ได้มีโอกาสกลับไปสำรวจชายหาดแถบนี้อีกครั้ง พบว่าโกงกางเทียมที่เคยวางอยู่หน้าชายหาดแห่งนี้มายาวนานมากกว่า 1 ปี หายไปหมดแล้ว จากการสอบถามผู้ดูแลรีสอร์ทแห่งนี้ได้ความว่า เจ้าของรีสอร์ทขอให้ผู้ที่นำมาทดลองวางรื้อออกให้หมดเนื่องจากไม่ได้ผล ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งไม่ได้ เสียหายและหลุดออกจากตำแหน่งเดิมที่เคยติดตั้ง ทั้งยังส่งผลเสียเป็นทัศนะที่ไม่น่ามอง จากนั้น รีสอร์ทก็นำทรายมาเติมโดยใช้เวลา 3 คืน ดำเนินการช่วง 20:00-22:00 […]

วัดถ้ำโพงพางหลังมรสุม

Beach Lover ขอพาชมภาพของชายหาดหน้าวัดถ้ำโพงพาง อ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร ช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าถนนเลียบทะเลเสียหายไปบางส่วน และมีเสาไม้ปักอยู่บนชายหาด เมื่อสืบค้นข้อมูลพบว่า ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) จังหวัดชุมพร ร่วมกับประชาชนในพื้นที่ สร้างขึ้นเพื่อเป็นแนวกันคลื่นป้องกันการกัดเซาะเเนวชายฝั่งในรูปแบบเชิงอนุรักษ์ เพื่อไม่ให้สิ่งก่อสร้างถูกกัดเซาะ เมื่อ มิ.ย.2565 (https://siamrath.co.th/n/354051) และได้มีการปักเพิ่มเติมเรื่อยๆตามกำลังและความร่วมมือร่วมใจของทั้งหน่วยงานและประชาชน (https://www.4forcenews.com/239008/) อย่างไรก็ตาม ยังคงพบปัญหาการกัดเซาะถึงบางส่วนของถนนเลียบชายหาดของทางวัด ทั้งบริเวณที่มีการปักไม้และบริเวณที่ไม่มีการปักไม้

แปลงปลูกต้นไม้ชายหาด อุทยานปราณบุรี

“ป่าชายหาด” คือ พื้นที่รอยต่อระหว่างทะเลกันป่าดิบแล้งตามชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลท่วมไม่ถึง ชายหาดเป็นกรวดทรายและโขดหินเป็นแนวกว้าง เช่น ตามเกาะต่างๆในทะเลของไทย ทั้งบริเวณในเขตอ่าวไทยและอันดามัน ดินค่อนข้างเค็มเนื่องจากมีไอเค็มจากฝั่งทะเลพัดเขาถึง สภาพป่าจะผิดแผกไปจากป่าพรุ ป่าบึงน้ำจืด และป่าชายเลน หรือป่าเลนน้ำเค็มโดยสิ้นเชิง ความชุ่มชื้นและปุ๋ยอินทรีย์ในดินมีน้อยมาก สังคมพืชโดยถือเอาความสูงเป็นเกณ์แบ่งได้ 3 ชั้น พันธุ์ไม้หลัก มีสนทะเล กระทิงหรือสารภีทะเล และหูกวางเป็นหลัก “ป่าชายหาด” นับเป็นป่าสังคมหนึ่งของป่าดิบ มีปริมาณฝนระหว่าง 1,500-4,000 มม/ปี และพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 50 เมตร ปริมาณพื้นที่ของป่าชนิดนี้ยังไม่อาจประเมินได้ แต่มีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับพื้นที่ป่าประเภทอื่นในประเทศไทย (อ่านเพิ่มเติมได้จาก วารสารราชบัณฑิต) แนวคิดการปลูกป่าชายหาดเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งทะเล เนินทรายชายฝั่ง เพื่อเป็นปราการทางธรรมชาติป้องกันคลื่นลมนั้นเริ่มปรากฏให้เห็นในระยะหลังๆที่สังคมเริ่มมีความรู้ความเข้าใจเรื่อง Eco-friendly มากขึ้น มีการเริ่มตระหนักว่า ความสมบูรณ์ของป่าชายหาดอาจทดแทนโครงสร้างป้องกันชายฝั่งอย่างกำแพงกันคลื่นได้ ตัวอย่างเช่นโครงการ การพัฒนาแนวทางการปลูกป่าชายหาดด้วยหลักการป่านิเวศ (Eco-forest) เพื่อป้องกันผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง ณ ชายหาดชลาทัศน์ จ.สงขลา ปลูกป่าชายหาดเสริมความมั่นคง ป่าปลายแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช Beach Lover ขอพาชมแปลงปลูกป่าชายหาด ณ วนอุทยานปราณบุรี หรือ […]

กำแพงกันคลื่น หาดn้องศาลา เกาะพะงัน

หาดท้องศาลาบนเกาะพะงัน เป็นชายหาดที่อยู่ใกล้กับท่าเรือข้ามฟากที่มาจากดอนสัก และเกาะสมุยจังหวัดสุราษฎร์ธานี นับเป็นประตูแรกสู่เกาะพะงันก็ว่าได้ บริเวณนี้คลื่นลมค่อนข้างรุนแรงในบางฤดูกาลเหมาะแก่การเล่นกีฬาทางน้ำหลายประเภท เช่น Kitesurf, Windsurf และ เรือใบ บริเวณหาดท้องศาลามีที่พักจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่เป็นที่พักค่อนข้างเก่า เนื่องจากก่อสร้างมาเป็นระยะเวลานานแล้ว ส่วนมากที่พักมีหน้าหาดค่อนข้างกว้าง มีบางรีสอร์ทเท่านั้นที่ดูเหมือนว่าจะสร้างประชิดทะเลมากๆจนทำให้ต้องป้องกันพื้นที่ของตนเองด้วยกำแพงกันคลื่น Beach Lover พาชมกำแพงกันคลื่นบริเวณรีสอร์ทแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ประชิดชายหาดท้องศาลา ดูจากสภาพกำแพงกันคลื่นแนวดิ่งแล้วเข้าใจว่าสร้างโดยเจ้าของที่ดินบริเวณนี้เพื่อป้องกันที่ดินหน้าหาดของตนเอง แต่ด้วยลักษณะของกำแพงกันคลื่นแบบแนวดิ่ง ส่งผลให้คลื่นที่วิ่งปะทะกับกำแพงสะท้อนกลับแล้วนำทรายด้านหน้ากำแพงหดหายไปจนหมด พบว่าแม้ยามน้ำขึ้นไม่เต็มที่พื้นที่บริเวณนี้ก็แทบจะไม่มีด้านหน้าชายหาดเหลืออยู่แล้ว เมื่อเทียบกับพื้นที่ข้างๆรีสอร์ทที่ยังไม่ได้สร้างกำแพงกันคลื่น ซึ่งพบว่ายังคงมีชายหาดหลงเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง นอกจากนั้นจากการเดินสำรวจยังพบอีกว่าพื้นที่ด้านบนหรือด้านหลังของกำแพงกันคลื่นมีร่องรอยความเสียหายจากคลื่นที่กระเซ็นและกระโดดข้ามทำให้ดินทรายด้านหลังกำแพงกันคลื่นหลุดล่อนจนส่งผลให้เป็นหลุมบ่อจำนวนมาก โดยยังพบอีกว่ามีการนำถุงทรายมาวางและมีตะแกรงเหล็กวางครอบด้านหน้าเพื่อป้องกันบ้านพักในรีสอร์ทจำนวนหนึ่งหลังที่อยู่โซนหน้าทะเล นับเป็นความเข้าใจผิดของเจ้าของที่ดินอย่างมาก เพราะการสร้างกำแพงกันคลื่นไม่เคยก่อให้เกิดผลดีกับชายหาดไหนเลย ซ้ำร้ายจะทำให้ชายหาดหน้ารีสอร์ทของตนนั้นหายไปจนหมดสิ้น โดยไม่มีทางที่จะกลับมาได้อีก ทำให้มูลค่าชายหาดด้านหน้ากำแพงนั้นลดลง ความสวยงามของชายหาดด้านหน้ารีสอร์ทก็ลดลง ต่อไปถ้าลูกค้าพูดกันปากต่อปากว่ารีสอร์ทนี้ไม่มีชายหาดแล้ว ก็จะส่งผลให้ลูกค้าไม่เข้ามาใช้บริการรีสอร์ทแห่งนี้อีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหาดท้องศาลาเป็นบริเวณที่มีรีสอร์ทเรียงรายอยู่มากมาย ลูกค้าสามารถเลือกรีสอร์ทอื่นที่อยู่ใกล้เคียง ที่มีชายหาดที่สวยงามกว่า เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจได้อย่างสะดวกและปลอดภัยกว่า (ภาพเมื่อ ธันวาคม 2566)

“ส่อง” งบประมาณปี 2567 ที่เกี่ยวข้องกับทะเลและชายฝั่ง ของกรมเจ้าท่า

ที่มาข้อมูลจากเล่มร่างงบประมาณ (ขาวคาดแดง) โดยสำนักงบประมาณปี 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดย Beach Lover Beach Lover ได้เคยนำเสนองบประมาณเพื่องานแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ปี 2563 แล้ว ติดตามได้จากโพสเก่าๆตาม Link ด้านล่าง งบประมาณปี 2563 https://beachlover.net/budget-2563-beach-erosion/ งบประมาณปี 2564 https://beachlover.net/ร่างงบประมาณ-ชายฝั่ง-2564/ งบประมาณปี 2565 https://beachlover.net/สดๆร้อนๆ-เปิดร่างงบประมาณป้องกันชายฝั่งประจำปี-2565/ งบประมาณปี 2566 https://beachlover.net/เปิดร่างงบประมาณ-เพื่อแ/ งบประมาณปี 2567 https://beachlover.net/budget-2567/ ครั้งนี้ของเจาะเพิ่มเติมเฉพาะของกรมเจ้าท่า โดยได้รวมเอางบประมาณเพื่อการขุดลอกปากร่องน้ำชายฝั่งทะเล และการถ่ายเททรายข้ามร่องน้ำ (Sand bypassing) เข้าไว้ด้วยกัน พบว่าในปีงบประมาณ 2567 กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ได้ตั้งงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับทะเลและชายฝั่ง ไว้เป็น 5 งานหลัก ใน 37 โครงการ รวมงบประมาณที่ขอเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2567 (รวมงบผูกพัน) ทั้งสิ้น 1,684.83 ล้านบาท ดังนี้ (1) งานศึกษาออกแบบ จำนวน 3 โครงการ […]

ด่วน! เปิดร่างงบประมาณ เพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลปี 2567

ที่มาข้อมูลจากเล่มร่างงบประมาณ (ขาวคาดแดง) โดยสำนักงบประมาณปี 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดย Beach Lover Beach Lover ได้เคยนำเสนองบประมาณเพื่องานแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ปี 2563 แล้ว ติดตามได้จากโพสเก่าๆตาม Link ด้านล่าง งบประมาณปี 2563 https://beachlover.net/budget-2563-beach-erosion/ งบประมาณปี 2564 https://beachlover.net/ร่างงบประมาณ-ชายฝั่ง-2564/ งบประมาณปี 2565 https://beachlover.net/สดๆร้อนๆ-เปิดร่างงบประมาณป้องกันชายฝั่งประจำปี-2565/ งบประมาณปี 2566 https://beachlover.net/เปิดร่างงบประมาณ-เพื่อแ/ เมื่อเดือน ธ.ค.2566 ร่างงบประมาณประจำปี 2567 ได้ถูกเผยแพร่ผ่านสำนักงบประมาณ (ร่างงบประมาณเล่มขาดคาดแดง) พบว่ารัฐวางแผนใช้จ่ายงบประมาณในปีงบประมาณ 2567 (ต.ค.2566-ก.ย.2567) เพื่องานศึกษาออกแบบ ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม งานก่อสร้างและปรับปรุงโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง และเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่ง ใน 3 กรมหลัก คือ กรมเจ้าท่า กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมถึงงบกลุ่มจังหวัดด้วย รวมทั้งสิ้น 795,900,000 บาท (795.9 ล้านบาท) ใน 51 โครงการ  ทั้งนี้ มิได้รวมงบประมาณของกรมเจ้าท่าเพื่อการขุดลอกปากร่องน้ำชายฝั่งทะเล และการถ่ายเททรายข้ามปากร่องน้ำ […]

กำแพงกันคลื่น ท่าบอน ยังสบายดี?

ช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปลายเดือนธันวาคม 2566 Beach Lover ได้ลงพื้นที่สำรวจชายหาดท่าบอน อ.ระโนด จ.สงขลา ที่เคยมีการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบแนวดิ่ง ไปเมื่อหลายปีก่อน โดยในช่วงสองปีมานี้ ชาวบ้านบริเวณนั้นได้รับผลกระทบจากโครงการกำแพงกันคลื่นนี้อย่างหนัก ทั้งๆที่การเกิดขึ้นของกำแพงกันคลื่นควรจะส่งผลดีต่อพื้นที่ด้านหลังกำแพง แต่กลับส่งผลกระทบอย่างรุนแรงจนชาวบ้านต้องส่งเสียงเรียกร้องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบกลับเหลียวหลังดูซากปรักหักพังที่เกิดจากผลกระทบของกำแพงกันคลื่นที่สร้างต่อเนื่องเป็นแนวยาวในชุมชน เมื่อคลื่นวิ่งเข้าปะทะกำแพงแนวดิ่ง จะสะท้อนออกไปนอกชายฝั่งโดยจะกวาดเอาทรายบนชายหาดด้านหน้ากำแพงหดหายไปด้วย ในขณะที่คลื่นอีกส่วนหนึ่งจะยกตัวสูงขึ้นแล้วกระโจนข้ามสันกำแพง ปะทะกับพื้นที่ด้านหลัง เกิดน้ำท่วมพื้นที่ด้านใน แรงที่คลื่นตกกระทบบนพื้นทรายหลังจากข้ามสันกำแพงกันคลื่นมาแล้วยังส่งผลให้เนินทรายด้านหลังเกิดความเสียหาย ทรายไหลตามน้ำ เกิดการกัดเซาะพื้นที่ด้านหลังกำแพงอย่างรุนแรง จนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ด้านหลังกำแพงกันคลื่นและควรจะรู้สึกอุ่นใจจากโครงสร้างนี้ ต้องนำกระสอบทราย ไม้ และวัสดุก่อสร้างอื่นๆมาวางเพื่อป้องกันบ้านตนเอง นอกจากนี้แล้วแรงปะทะและการกระเซ็นข้ามของคลื่นส่งผลให้เกิดไอเค็มกระจายไปไกล ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่อีกด้วย กรมเจ้าท่าในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบได้สร้างกำแพงหินเรียงอีกชั้นหนึ่งมาครอบทับกำแพงแนวดิ่งนี้ไปแล้วบางส่วน แต่ยังไม่ตลอดทั้งแนวชายฝั่งที่เกิดผลกระทบ น่าติดตามต่อไปว่า ผลกระทบนี้ยังดำรงอยู่ไปนานแค่ไหน และกรมเจ้าท่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ชมคลิป VDO เพิ่มเติมได้จาก https://youtu.be/p_dw3mu94vU?si=mpCH6OFguiQyOuqk

กำแพงหาดมหาราช ยังอยู่ในงบปี 67 แม้ศาลสั่งคุ้มครอง

ในโอกาสที่งบประมาณแผ่นดินปี 2567 กำลังจะเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 1 ช่วงวันที่ 3-5 มกราคม 2567 นี้ Beach Lover ชวนท่านผู้สนใจตามอ่านเอกสารร่างงบประมาณ (ขาวคาดแดง) กันได้ตาม Link นี้ งบประมาณรายจ่าย 2567 สำนักงบประมาณ Beach Lover พบว่างบประมาณปี 2567 จำนวน 76.862 ล้านบาท เพื่อสร้างกำแพงกันคลื่นระยะที่ 3 หาดมหาราช จ.สงขลา ระยะทาง 555 เมตร ปรากฏอยู่ในเล่มงบประมาณ ขาวคาดแดง ของกรมโยธาธิการและผังเมือง มาตั้งแต่ปี 2563 ถึงปัจจุบัน แม้ยังไม่มีการลงมือก่อสร้างใดๆ แต่ชาวบ้านในพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบก็วิตกกังวลไม่น้อย แม้ว่าวันนี้ศาลปกครองสงขลาจะออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโครงการกำแพงกันคลื่นระยะที่ 3 หาดมหาราช จ.สงขลา ในวันที่ 12 ธันวาคม 2566 ไปแล้วก็ตาม (อ่านเพิ่มเติมจาก https://beachlover.net/maharaj-case-dec2023/) แต่งบประมาณส่วนนี้ยังคงปรากฏอยู่ในเล่มงบประมาณขาวคาดแดงปี 2567 เนื่องจากมีการจัดทำแล้วพิมพ์เผยแพร่ก่อนคำสั่งศาล […]

เปิด 5 เรื่องราวที่มีผู้อ่านมากที่สุดในปี 2566

Beach Lover ได้นำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับชายหาดทั้งในไทยและต่างประเทศ ทั้งข่าว สถานการณ์ และข้อมูลทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องมาตั้งแต่ปี 2562 รวมถึงคลิป VDO ที่น่าสนใจผ่านทาง Youtube: Coastal Research Group (https://www.youtube.com/channel/UC1TN-_GH8ZOu2qjTlh_9CSQ) มาตั้งแต่ปี 2561 ในวันแรกของการเริ่มต้นปี 2567 Beach Lover ขอประมวล 5 เรื่องราวที่มีผู้อ่านมากที่สุดในรอบปี 2566 ตามนี้ อันดับที่ 1 ปากแม่น้ำ (https://beachlover.net/ปากแม่น้ำ-estuary/) อันดับที่ 2 การแบ่งเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่ (https://beachlover.net/การแบ่งเขตการใช้ประโยช/) อันดับที่ 3 กำแพงกันคลื่น…ไปต่อหรือพอแค่นี้ (https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่น-ไปต่อหรื/) อันดับที่ 4 นิยามของแนวชายฝั่งทะเล (https://beachlover.net/นิยามของแนวชายฝั่งทะเล/) อันดับที่ 5 เทียบชัดๆ…หาดขั้นบันไดกับหาดทราย (https://beachlover.net/เทียบชัดๆ-หาดขั้นบันได/) น่าสนใจว่า อันดับที่ 1-4 นั้นอยู่ในหมวด “วิชาการ” ทั้งหมด ส่วนลำดับที่ 5 […]

หาดริ้นเกาะพะงัน ในยามสงบ

Beach Lover เคยพาชมสภาพหาดริ้นในเช้าหลัง Full moon party ไปแล้ว เมื่อปีก่อนติดตามได้จาก https://beachlover.net/หาดริ้น-หลัง-full-moon-party/ กลับมาเกาะพะงันอีกรอบในครั้งนี้ Beach Lover ขอพาชมความสวยงามของหาดริ้นอีกครั้งในยามที่ชายหาดยังไร้ผู้คน ไร้นักดื่ม ไร้นักเที่ยว หาดริ้นนับเป็นชายหาดแห่งเดียวของเกาะพะงันที่ตั้งอยู่บนจะงอยทางทิศใต้ของเกาะ การเข้าถึงหาดแม้ถนนจะมีสภาพค่อนข้างดีแต่มีความลาดชันและความคดเคี้ยวสูง ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ หากใครเพิ่งหัดขับรถมอเตอร์ไซค์ใหม่ๆหรือยังไม่มีประสบการณ์การขับขี่มากพอควรหลีกเลี่ยงเส้นทางนี้ แม้ในยามปกติที่ไม่มีปาร์ตี้ พบว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบได้นำคนงานและรถมาทำความสะอาดชายหาดอยู่เป็นประจำ หากมองหาดริ้นจากทางทิศใต้ของชายหาดในยามที่เงียบสงบอย่างวันนี้ แทบนึกภาพไม่ออกเลยว่าในวันงาน Full moon party ที่จัดขึ้นในทุกๆวันขึ้น 15 ค่ำของแต่ละเดือน ค่ำคืนพระจันทร์เต็มดวงที่ผู้คนล้นชายหาด และบางส่วนล้นลงไปในทะเล ชายหาดนี้จะมีสภาพอย่างไร (ภาพเมื่อ: ธันวาคม 2566)

see more…

ข่าว

สำรวจหาค่าระดับความลึกท้องน้ำบริเวณพื้นที่แหล่งหญ้าทะเล เกาะลิบง จังหวัดตรัง

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 12 มีนาคม 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนธรณีวิทยาชายฝั่ง ร่วมกับศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงพื้นที่สำรวจหาค่าระดับความลึกท้องน้ำบริเวณพื้นที่แหล่งหญ้าทะเล เกาะลิบง จังหวัดตรัง โดยเรือสำรวจหยั่งน้ำอัตโนมัติ โดยมีเป้าหมายในการสำรวจ 12 แนว จากทั้งหมด 28 แนว มีระยะห่างระหว่างแนวประมาณ 300 เมตร ทั้งนี้ กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง จะส่งมอบข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในครั้งนี้ให้คณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาการเสื่อมโทรมของแหล่งหญ้าทะเลในบริเวณจังหวัดตรังและจังหวัดกระบี่ เพื่อไปใช้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุการเสื่อมโทรมของแนวหญ้าทะเลในพื้นที่ต่อไป

สำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหลังการติดตั้งรั้วดักทราย ชายหาดตำบลกลาย

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหลังการติดตั้งรั้วดักทราย (Sand fence) บริเวณชายหาดบ้านบางสาร ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 12 มีนาคม 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนวิศวกรรมชายฝั่ง ลงพื้นที่บริเวณชายหาดบ้านบางสาร ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหลังการติดตั้งรั้วดักทราย (Sand fence) ด้วยเครื่องมือหาพิกัดดาวเทียมRTK GNSS Network โดยรั้วดักทรายมีความยาว 570 เมตร ปักรูปแบบซิกแซก ใช้ไม้ความยาว 3 เมตร ปักลึกลงดิน 2 เมตร (ดำเนินการติดตั้งในปี พ.ศ. 2565) มีแนวสำรวจทั้งหมด 21 แนว ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งประมาณ 1,000 เมตร เป็นการสำรวจในช่วงหลังฤดูมรสุม ผลสำรวจพบว่าด้านทิศใต้ใกล้เขื่อนป้องกันคลื่นนอกชายฝั่ง รั้วดักทรายหลุดพังเสียหายจากคลื่นในช่วงฤดูมรสุมเป็นระยะทาง 180 เมตร และช่วงถัดมา แนวไม้อยู่ในสภาพล้มเอียงเข้าหาฝั่ง ระยะทาง 50 เมตร […]

ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี อ่างศิลา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 7 มีนาคม 2567 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ได้รับแจ้งจากศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน รายงานการเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี บริเวณอ่างศิลา อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี เจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบบริเวณดังกล่าว และสัมภาษณ์ชาวบ้านบริเวณอ่างศิลา ทราบว่าน้ำทะเลมีสีเขียวและมีกลิ่น เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 เจ้าหน้าที่ได้ทำการสำรวจและตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเล จำนวน 3 สถานี ได้แก่ สถานี AS1-AS3 ตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าสภาพน้ำเป็นสีเขียว มีกลิ่นเล็กน้อย และไม่พบสัตว์น้ำตาย ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำทั่วไป มีค่าความเป็นกรดและด่าง 8.33-8.50 อุณหภูมิ 32.4-33.1 องศาเซลเซียส และความเค็ม 31.9-32.2 ส่วนในพันส่วน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลประเภทที่ 3 เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยสาเหตุจากการสะพรั่งของไดโนแฟลกเจลเลตชนิด Noctiluca scintillans ซึ่งแพลงก์ตอนชนิดนี้ไม่สร้างสารชีวพิษ และมักพบว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีในหลายพื้นที่ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยฯ จะติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดต่อไป

สำรวจสัณฐานชายหาด แหลมพันวา

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทะเลชายฝั่ง ลงพื้นที่บริเวณแหลมพันวาตะวันออก ต.วิชิต อ.เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต เพื่อสำรวจสัณฐานชายหาด ด้วยเครื่องมือหาพิกัดดาวเทียมแบบ GNSS วันที่ 21 มกราคม 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนธรณีวิทยาชายฝั่ง ลงพื้นที่บริเวณแหลมพันวาตะวันออก ต.วิชิต อ.เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต เพื่อสำรวจสัณฐานชายหาด ด้วยเครื่องมือหาพิกัดดาวเทียมแบบ GNSS โดยการรังวัดผ่านระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network) โดยมีระยะทางตามแนวชายฝั่งประมาณ 950 เมตร กำหนดแนวสำรวจสัณฐานชายหาด รวม 13 แนว ผลการสำรวจเบื้องต้น พบว่า พื้นที่สำรวจมีความลาดชันชายหาดประมาณ 0.06 – 8.52 องศา มีความกว้างของหาด ประมาณ 10 – 13 เมตร เมื่อนำผลการสำรวจครั้งนี้เปรียบเทียบกับผลการสำรวจในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พบว่า บริเวณพื้นที่แหลมพันวาตะวันออกมีตะกอนสะสมเพิ่มขึ้นประมาณ 197.48 ลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จะนำไปวิเคราะห์อัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล ความลาดชันชายหาด ความกว้างของหาด […]

ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี ท่าศาลา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทะเลชายฝั่ง ติดตามปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีพื้นที่หาดท่าสูงบน อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช วันที่ 16 มกราคม 2567 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง กลุ่มงานสมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ได้รับการแจ้งเหตุการณ์เกิดน้ำทะเลเปลี่ยนสี บริเวณพื้นที่หาดท่าสูงบน ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช สำรวจพื้นที่เบื้องต้นไม่พบผลกระทบต่อสัตว์น้ำ ลักษณะสีน้ำทะเลเป็นสีเขียวเข้ม สาเหตุเกิดจากการสะพรั่งของแพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต ชนิด Noctiluca scintillans มีความหนาแน่นเฉลี่ย 19,203 เซลล์ต่อลิตร ซึ่งแพลงก์ตอนชนิดนี้ไม่สร้างสารชีวพิษ ตรวจวัดปัจจัยคุณภาพน้ำทะเลเบื้องต้น ดังนี้ ความเป็นกรด-ด่าง 7.63-7.88 ความเค็ม 31.6-31.8 ppt อุณหภูมิน้ำทะเล 30.4-30.9 °C และปริมาณออกซิเจนละลาย 7.14-7.22 mg/l ตัวอย่างน้ำทะเลสำหรับวิเคราะห์ปริมาณสารอาหาร เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 °C นำกลับมาวิเคราะห์ห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยฯ จะติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องต่อไป

สำรวจและติดตามสถานภาพชายฝั่ง พื้นที่ ต.ท้องเนียน

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทะเลชายฝั่ง สำรวจและเก็บข้อมูลและติดตามสถานภาพชายฝั่ง บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล ต.ท้องเนียน และต.ขนอม อำเภอขนอม จ.นครศรีธรรมราช วันที่ 9 มกราคม 2567 สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 โดย ส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ลงพื้นที่เพื่อสำรวจและเก็บข้อมูลและติดตามสถานภาพชายฝั่ง บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล ต.ท้องเนียน และต.ขนอม อำเภอขนอม จ.นครศรีธรรมราช ชายฝั่งทะเลมีระยะทางยาวประมาณ 48.03 กม. จากการสำรวจพบว่าพื้นที่ชายฝั่งทะเล ต.ท้องเนียน และ ต.ขนอม อ.ขนอม มีลักษณะเป็นหาดทรายและธรณีสัณฐานชายฝั่งแบบหาดก้นอ่าว (Pocket beach) โดยทั้งสองด้านของอ่าวเป็นหาดหิน/หัวหาด (Head Land) โดยด้านทิศเหนือและทิศใต้มีลักษณะเป็นหัวหาด/หาดหิน ชายฝั่งส่วนใหญ่มีสถานภาพสมดุล และมีการสะสมของตะกอนทราย จากการสำรวจไม่พบการกัดเซาะชายฝั่ง อีกทั้งพื้นที่ชายหาดของ อ.ขนอมยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญเชิงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งนี้ จะดำเนินการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ดังกล่าว เพื่อนำไปประกอบการจัดทำรายงานสถานภาพชายฝั่งทะเลประจำปี 2567 จังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อไป

ตรวจสอบก้อนน้ำมันชายหาด ต.จะทิ้งพระ จ.สงขลา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทะเลชายฝั่ง ตรวจสอบพื้นที่กรณีแจ้งมีก้อนน้ำมันขึ้นบริเวณชายหาด ต.จะทิ้งพระ อ.สทิงพระ จ.สงขลา วันที่ 28 ธันวาคม 2566 เจ้าหน้าที่กลุ่มงานสมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง สำรวจพื้นที่ชายหาดบ้านจะทิ้งพระ หมู่ 6 และหมู่ 7 ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา สำรวจพื้นที่พบก้อนน้ำมัน (Tar ball) เป็นแนวยาวขึ้นตามแนวรอยคลื่นตรงแนวน้ำขึ้นสูงสุด ตลอดแนวชายหาดระยะ 2 กิโลเมตร ตรวจวัดปัจจัยคุณภาพน้ำทะเลเบื้องต้นไม่พบวัตถุที่ลอยน้ำ ไม่พบน้ำมันและไขมันลอยน้ำ บริเวณผิวหน้าน้ำ ค่าความเค็มอยู่ในช่วง 27.8-28 ppt ความเป็นกรด-ด่าง 7.0-7.5 อุณหภูมิน้ำทะเล 27.8-28 องศาเซลเซียส ปริมาณออกซิเจนละลาย 6.9- 7.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ดำเนินการเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อวิเคราะห์ปริมาณปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนรวมในน้ำทะเล ส่งวิเคราะห์ห้องปฏิบัติการต่อไป

ผู้ออกแบบกำแพงกันคลื่นฟ้องหมิ่นชาวสงขลา คาดปมแชร์โพสต์-วิจารณ์ผลกระทบกำแพงกันคลื่นต่อชายหาด

ที่มา: https://prachatai.com/journal/2023/12/107389 เพจเฟซบุ๊ก ‘Beach for life’ แจ้งมีประชาชนจากสงขลา ถูกนักวิชาการย่านศรีราชา ผู้ออกแบบกำแพงกันคลื่น ฟ้องหมิ่นประมาทอาญา และ พ.ร.บ.คอมฯ คาดปมแชร์โพสต์วิจารณ์ผลกระทบกำแพงกันคลื่น ด้านผู้ถูกฟ้องเผยพร้อมสู้คดีถึงที่สุด 26 ธ.ค. 2566 เพจเฟซบุ๊ก “Beach for life” โพสต์ข้อความวันนี้ (26 ธ.ค.) แจ้งว่า วานนี้ (25 ธ.ค.) มีประชาชน อ.เทพา จ.สงขลา ถูกกล่าวหา ดำเนินคดีอาญา ข้อหา หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 16 ที่ สภ.แหลมฉบัง จ.ชลบุรี เบื้องต้น ทางเพจฯ คาดว่าสาเหตุมาจากการแชร์โพสต์โซเชียล และวิจารณ์ผลกระทบจากโครงการกำแพงกันคลื่นต่อชายหาด ทั้งนี้ ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษเป็นนักวิชาการดังย่านศรีราชา ซึ่งเป็นผู้ออกแบบกำแพงกันคลื่นริมชายหาดหลายโครงการ สำหรับ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 16 ระบุว่า ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ […]

สำรวจรอยกินหญ้าทะเลของพะยูนและสัตว์ทะเลหายากในพื้นที่

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทะเลชายฝั่ง สำรวจรอยกินหญ้าทะเลของพะยูนและสัตว์ทะเลหายากในพื้นที่ ในช่วงน้ำขึ้นสูงสุดและน้ำลงต่ำสุด บริเวณอ่าวป่าคลอก จังหวัดภูเก็ต วันที่ 18-21 ธันวาคม 2566 เจ้าหน้าที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ได้ออกสำรวจรอยกินหญ้าทะเลของพะยูนและสัตว์ทะเลหายากในพื้นที่ ในช่วงน้ำขึ้นสูงสุดและน้ำลงต่ำสุด บริเวณอ่าวป่าคลอก จังหวัดภูเก็ต คิดเป็นพื้นที่ 2.34 ตร.กม จากการสำรวจพบรอยกินหญ้าทะเลของพะยูน โดยมีหญ้าใบมะกรูด (Halophila) เป็นหญ้าชนิดเด่น บริเวณรอยกิน ที่พบมีทั้งรอยเก่าและรอยใหม่ สังเกตจากการขึ้นปกคลุมทดแทนของหญ้าทะเล ได้ดำเนินการสุ่มวัดขนาดความกว้างและความยาวของรอยกิน จำนวน 20 รอย พบว่า รอยกินมีความกว้าง 13 – 15 เซนติเมตร ขนาดความยาวของรอยกินเฉลี่ย 8 เมตร จึงได้ทำการบันทึกเพื่อนำไปประเมินขนาดและประชากรของพะยูนต่อไป และจากการสำรวจพบเต่าทะเล ชนิดเต่าตนุจำนวน 10 ตัว อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว

คลื่นใหญ่ซัดประจวบฯ

ที่มาข่าว: หนังสือพิมพ์ประจวบโพสต์ คลื่นใหญ่ซัดประจวบฯ ต่อเนื่อง วันที่2 ส่วนหัวหิน กำแพงโรงแรมพังน้ำเต็มฝั่ง​ (วันที่ 18 พ.ย.2566) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสถานการณ์คลื่นลมในทะเลยังคงรุนแรงต่อเนื่องตลอดแนวชายฝั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงเช้าคลื่นจะมีความรุนแรง ซัดเข้าหากชายหาดตลอดเวลา โดยเฉพาะที่ชายหาดหัวหิน-หาดเขาตะเกียบ และหาดเขาเต่า ไม่มีชายหาดเหลือให้เห็นเนื่องจากคลื่นซัดน้ำทะเลเข้ามาจนถึงแนวกำแพงกันคลื่นของโรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหารตลอดแนว จากเดิมจะมีชายหาดกว้างให้นักท่องเที่ยวได้ลงมาเดิน และชี่ม้าเล่นกัน แต่ตั้งแต่วานนี้ไม่สามารถทำกิจกรรมทางทะเลได้ โดยเฉพาะร้านอาหารชายหาดหัวหิน 22 ต้องเก็บข้าวของและเตียงผ้าใบขึ้นมาจนติดแนวกำแพง ทำให้ไม่สามารถจำหน่ายอาหารให้กับนักท่องเที่ยวได้ ส่วนบรรดาผู้ประการให้ม้าเช่าที่ชายหาดหัวหิน ก็บ่นว่ารายได้ 2 วันนี้ลดลงไปทันที เนื่องจากไม่มีนักท่องเที่ยวมานั่งม้าขี่ไปตามแนวชายหาด ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นลักษณะเช่นนี้ไปอีก 2-3 วัน มีเพียงนักท่องเที่ยวต่างชาติ และชาวจีนที่ลงมาที่หาดดูคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งกัน อย่างไรก็ตามจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งอย่างรุนแรงต่อเนื่องส่งผลให้แนวกำแพงกันคลื่นของโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ หัวหิน พังเสียหายเป็นแนวยาวบางช่วง ส่วนที่เหลือคลื่นได้กัดเซาะเข้าไปใต้ฐานจนมีเศษก้อนหินขนาดใหญ่ เล็กโผล่ขึ้นมาให้เห็น ในขณะเดียวกันพนักงานโรงแรมต้องนำเชือกขาว แดงมากั้นเป็นแนวยาวกันให้นักท่องเที่ยวที่มาพักผ่อนในโรงแรม เดินไปบริเวณดังกล่าวเพื่อความปลอดภัย นอกจากนั้นต้นมะพร้าว เสาไฟบริเวณชายหาดได้รับความเสียหาย ต้นมะพร้าวโค่นล้ม ตลอดจนมีเศษไม้ เศษขยะ ต่างๆถูกคลื่นซัดขึ้นมาบริเวณชายหาดตลอดแนวหัวหิน-หาดเขาตะเกียบ ส่วนเรือประมงพื้นที่บ้านกว่า 100 ลำได้นำเรือเข้ามาจอดหลบคลื่นลมในบริเวณคลองเขาตะเกียบ และบริเวณสะพานปลาหัวหิน นายจำนงค์ บุตรสงค์ […]

see more…